วิธีการแก้ไขปรับปรุงสินค้าคงเหลือ หลังจากการตรวจนับสินค้า

ทุกสิ้นปี แน่นอนว่า กิจการต่างๆ ต้องมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือ เพื่อสำรองว่ามูลค่าคงเหลือที่เหลืออยู่มีมูลค่าตามจริงเท่าใด และบ่อยครั้ง ที่มักจะพบว่าจำนวนสินค้าที่นับได้จริง ไม่เท่ากับจำนวนในระบบบัญชีนั้น แล้วเราจะปรับปรุงรายการ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดทางบัญชี จากการตรวจนับเหล่านั้นอย่างไร

ข้อผิดพลาดจากการตรวจนับสินค้าคงเหลือ แบ่งได้ ดังนี้

1.สินค้าคงเหลือในบัญชี มีมากกว่าข้อเท็จจริง (สินค้าขาดจากรายงาน) อาจจะเกิดจาก

               1.1 ไม่รับรู้รายได้ตามข้อเท็จจริง

               1.2 บันทึกรายได้ แต่ไม่ได้บันทึกต้นทุนขายทันที (กรณีวิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง-Perpetual Inventory Method)

               1.3 การบันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวดตามวิธีการบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด – Periodic Inventory Method มิได้เป็นตามข้อเท็จจริง

               1.4 สินค้าสูญหาย

แนวทางการแก้ไขปรับปรุง

               ให้ปรับปรุงตามสินค้าคงเหลือที่มีจริง ตามที่ตรวจนับได้ หรือตามระบบสินค้าคงเหลือคลังสินค้า และกิจการต้องตรวจสอบว่ามีเอกสารขายที่ไม่ได้ลงบัญชีที่ผ่านมาหรือไม่

 

การปรับปรุงย้อนหลัง สำหรับรายการ ณ วันต้นงวด

การปรับปรุงสำหรับปีปัจจุบัน

1. บันทึกรายการ รายได้ให้ครบถ้วน โดยปรับปรุงกำไรสะสม

    เดบิต เงินสด/ธนาคาร/ลูกหนี้การค้า

                   เครดิต กำไรสะสม

 

1. บันทึกรายการรายได้ให้ครบถ้วน

    เดบิต เงินสด/ธนาคาร/ลูกหนี้การค้า

                   เครดิต รายได้จากการขาย

 

2. บันทึกตัดรายการสินค้าคงเหลือ ตามยอดต้นทุนขายให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง

วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

  

 เดบิต กำไรสะสม

                   เครดิต สินค้าคงเหลือ

วิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)

    เดบิต กำไรสะสม

                   เครดิต สินค้าคงเหลือ (ต้นงวด)

และปรับปรุงรายการเกี่ยวเนื่องในปีปัจจุบัน ดังนี้

    เดบิต สินค้าคงเหลือ (ต้นงวด)

                   เครดิต ต้นทุนขาย/กำไรขาดทุน

และปรับปรุงมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด ใหม่ อีกครั้งด้วย ยอดที่ถูกต้องจากการตรวจนับ

 

2. บันทึกตัดรายการสินค้าคงเหลือให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง

วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

    เดบิต ต้นทุนขาย/ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย

                   เครดิต สินค้าคงเหลือ

วิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)

ปรับปรุงมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดใหม่อีกครั้ง ด้วยยอดที่ถูกต้องจากการตรวจนับ

 

2.สินค้าคงเหลือในบัญชี มีน้อยกว่าข้อเท็จจริง (สินค้าเกินจากรายงาน) อาจจะเกิดจาก

               2.1 ไม่บันทึกรายการซื้อสินค้าตามข้อเท็จจริง

               2.2 สินค้าเกินเนื่องจากการนับสต๊อกสินค้า

แนวทางการแก้ไขปรับปรุง

               ให้ปรับปรุงตามสินค้าคงเหลือ ที่มีจริงตามที่ตรวจนับได้ หรือตามระบบสินค้าคงเหลือของคลังสินค้า และกิจการต้องตรวจสอบว่ามีเอกสารการซื้อที่ไม่ได้ลงบัญชี ที่ผ่านมาหรือไม่

การปรับปรุงย้อนหลัง สำหรับรายการ ณ วันต้นงวด

การปรับปรุงสำหรับปีปัจจุบัน

โดยต้องปรับปรุงเข้ารายการกำไรสะสม และปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดดังนี้

วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

เดบิต สินค้าคงเหลือ

          ภาษีซื้อต้องห้าม

                   เครดิต เจ้าหนี้การค้า (กรณายังไม่ได้บันทึกซื้อ แต่ยังมีภาระที่ต้องจ่ายชำระหนี้เจ้าหนี้ค่าสินค้า) หรือ กำไรสะสม (กรณีนับสต๊อกสินค้า แล้วพบสินค้าเกินในปีก่อน แต่มิได้ปรับปรุง)

 

ให้บันทึกรายการให้ถูกต้องและปรับมูลค่า สินค้าคงเหลือปลายงวดตามข้อเท็จจริง

วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

    เดบิต สินค้าคงเหลือ

               ภาษีซื้อต้องห้าม

                   เครดิต เจ้าหนี้การค้า (กรณียังไม่บันทึกซื้อแต่ยังมีภาระที่ต้องจ่ายชำระเจ้าหนี้ค่าสินค้า

                                ต้นทุนขาย (กรณีนับสต๊อกสินค้าแล้วสินค้าเกิน)

วิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)

    เดบิต กำไรสะสม

          ภาษีซื้อต้องห้าม

                   เครดิต เจ้าหนี้การค้า (กรณีที่ยังไม่ได้บันทึกซื้อแต่ที่ยังมีภาระต้องจ่ายชำระหนี้เจ้าหนี้ค่าสินค้า)

    เดบิต สินค้าคงเหลือ (ต้นงวด)

                   เครดิต กำไรสะสม

และปรับปรุงรายการเกี่ยวเนื่องในปีปัจจุบัน ดังนี้

    เดบิต ต้นทุนขาย/กำไรขาดทุน

                   เครดิต สินค้าคงเหลือ (ต้นงวด)

และปรับปรุงมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดใหม่อีกครั้ง ด้วยยอดที่ถูกต้องจาการตรวจนับ

วิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)

ปรับปรุงมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดใหม่อีกครั้ง ด้วยยอดที่ถูกต้องจากการตรวจนับ

    เดบิต ซื้อสินค้า

               ภาษีซื้อต้องห้าม

                   เครดิต เจ้าหนี้การค้า

และปรับปรุงมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดใหม่อีกครั้ง ด้วยยอดที่ถูกต้องจาการตรวจนับ

 

 

สรุป

วิธีการปรับปรุงสินค้าคงเหลือให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมค่ะ สิ่งที่เราต้องตระหนักไว้เสมอก็คือ หากปรับปรุงรายการในบัญชีแล้ว อย่าลืมกระทบยอดกับระบบสินค้าคงคลังด้วย เพื่อการทำงานที่ง่ายและรวดเร็วในอนาคต

สินค้าคงเหลือในทางปฏิบัติงานนั้น มักเป็นประเด็นที่มักพบข้อผิดพลาดในการจัดทำ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า สูญหาย ขาดจากรายงาน หรือในกรณีอื่นๆ ที่ทำให้สินค้าคงเหลือแสดงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎ ดังนั้นควรต้องมีการวางแผนในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการรับสินค้าเข้า การเบิกจ่ายสินค้าออกไปเพื่อจำหน่าย หรือเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต และขั้นตอนของการตรวจนับสินค้าคงคลัง เพื่อป้องกันความผิดพลาดในอนาคต ที่จะเกิดขึ้น

อ้างอิง https://thaicpdathome.com

โปรแกรม คลังสินค้า Excel ฟรี,โปรแกรมคลังสินค้า excel,โปรแกรมคลังสินค้า wms,โปรแกรมคลังสินค้า ฟรี,โปรแกรมคลังสินค้า สําเร็จรูป ฟรี,โปรแกรมบริหาร คลังสินค้า สำเร็จรูป,โปรแกรม คลังสินค้า Pantip ,โปรแกรมคลังสินค้า ออนไลน์,ซอฟต์แวร์จัดการสต๊อกสินค้า,โปรแกรมคลังสินค้า,โปรแกรมสต็อกสินค้า,โปรแกรมสินค้าคงคลัง,ระบบstockสินค้า,ระบบบริหารสินค้าคงคลัง,โปรแกรมคลังสินค้าสำเร็จรูป,โปรแกรมบริหารจัดการคลังสินค้า,โปรแกรมจัดการสต็อกสินค้า, BUSINESS PLUS IC ,ระบบบริหารสินค้าคงคลัง  Inventory Control ,ABC analysis  ,โปรแกรมสต็อกสินค้า ,Inventory Management , Economic Order Quantity, Safety stock ,Reorder Point, Stock Keeping Unit (SKU) , WMS ,warehouse management system , Warehouse Management, โปรแกรมบริหารการขายและจัดการสต็อก,จัดการคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ

BUSINESS PLUS IC ระบบบริหารสินค้าคงคลัง Inventory Control ที่ยืดหยุ่น รองรับเอกสารการ รับ จ่าย เบิก ผลิต และเครื่องพร้อมกระบวนการที่จะทำให้เกิดการยืนยันในสินค้าและจำนวน เมื่อมีการหยิบ หรือ เคลื่อนย้าย ผู้ช่วยมือ 1 ของผู้ประกอบการ ตั้งแต่ Startup SMEs รองรับการปิดต้นทุนได้อย่างถูกต้องแม่นยำทั้งแบบ เข้าก่อนออกก่อน(FIFO) เฉลี่ย(Weighted Average) ตัดตามล็อต (Lots) ตัดตามเลขกำกับสินค้า (Serial Number) การบริหารสินค้าคงเหลือให้เหมาะสมกับกิจการ เป็นระบบจัดการสินค้าที่ใช้ ศาสตร์บริหารทั้ง ABC analysis EOQ (Economic Order Quantity) Safety stock ,Reorder Point แยกประเภทด้วยรหัสสินค้า และจัดการ Stock Keeping Unit (SKU) ได้อย่างเหนือกว่า Software ทั่วไปอย่างมาก เพราะเรามีประสบการณ์มีหลากหลายธุรกิจ และเป็นผู้นำในซอฟต์แวร์ ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ที่มีการเคลื่อนไหวสูง หลากหลายแบบที่จะเกิด และปริมาณเอกสารมาก จึงทำให้เราต่อยอดพัฒนาโปรแกรมร การจัดการสินค้าได้อย่างยอดเยี่ยม พร้อมต่อยอดสู่ WMS warehouse management system