บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย

 

               บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย  ในความหมายโดยทั่วไป การส่งเสริมการขาย หมายถึง กิจกรรมการส่งเสริมการตลาด ที่นอกเหนือจากการโฆษณา  การตลาดทางตรง การขายโดยใช้พนักงานขาย และการประชาสัมพันธ์ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราวเพื่อกระตุ้นความสนใจ  การทดลองใช้  หรือการซื้อของลูกค้าขั้นสุดท้าย  บุคคลในช่องทางการตลาด หรือพนักงานขายของกิจการ  การส่งเสริมการขายไม่สามารถใช้เพียงเครื่องมือโฆษณาให้รู้ว่ามีการลด แลก แจก แถม หรือ ส่งพนักงานขายไปแจกสินค้าตัวอย่างตามบ้าน เป็นต้น

               บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย ที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัท/ห้าง ได้จัดทำกิจกรรมการส่งเสริมการขาย  ผู้รับต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และผู้จ่ายต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ อัตราภาษีการหัก ณ ที่จ่ายคือร้อยละเท่าไหร่

               บัญชี ภาษี ค่าส่งเสริมการขาย ในความหมายของกรมสรรพากร คือ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง

  1. เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน
  2. เงินช่วยเหลือ
  3. เงินส่วนลด
  4. เงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้า ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขาย หรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย

 

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินรางวัลหรือส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้ขายสินค้า (Supplier) ซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
  2. ผู้ขายสินค้าได้ให้เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้า แก้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้แทนจำหน่าย (Dealer) ซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก หรือผู้ส่งออก ต้องเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ซื้อสินค้าไปโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย โดยไม่คำนึงว่าเงินที่จ่ายให้นั้นจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือฐานอื่นใด  (ผู้ซื้อสินค้าดังกล่าวต้องมิใช่ผู้ที่ซื้อสินค้าไปใช้ในการผลิต การให้บริการ หรือเพื่อการบริโภค หรือเพื่อการอื่นที่มิใช่เพื่อขายสินค้าดังกล่าว)
  3. มูลค่ารางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากากรส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายที่ต้องคำนวณหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต้องมีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดจากข้อกำหนดที่ตกลงกันเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากสัญญาระยะยาวก็ตาม
  4. ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของรางวัล, ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
  5. ให้นำแนวทางปฏิบัติตามข้อ 1 ถึงข้อ 4 ไปปรับใช้กับกรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นได้ให้บริการแก้ผู้รับบริการซึ่งผู้ให้บริการทราบโดยชัดแจ้งว่า ผู้รับบริการนั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการต่อ หรือตามพฤติการณ์ผู้รับบริการมีวัตถุประสงค์ที่จะให้บริการต่อแน่นอนด้วย

 

การหักภาษีเงินได้ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด เนื่องจากการส่งเสริมการขาย สามารถสรุปรายละเอียดแยกตามหัวข้อดังนี้

  1. ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีขายสินค้า ให้ผู้ซื้อ ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ คือ ขายให้ผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้ประกอบการขายปลีกหรือขายส่งสินค้าหรือผู้แทนจำหน่าย  (ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว คนกลาง ตัวแทน นายหน้า ไม่ได้ซื้อไปใช้เอง หรือรายย่อย) เมื่อบริษัท จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งอาจเป็นสัญญาระยะยาว – การจ่ายอาจจะจ่ายเป็นตัวเงินหรือไม่ก็ได้ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ตามวรรคหนึ่ง หมายถึง เงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินดังกล่าวจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย ถ้าการจ่ายเงินเพื่อให้มีผลต่อการขาย ลดต้นทุนรายจ่าย - ถือเป็นค่าส่งเสริมการขายตามความหมายนี้ ต้องหัก ณ ที่จ่ายอัตราร้อยละ 3 ทุกครั้ง
  2. ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับค่าส่งเสริมการขาย เป็นสิ่งของ คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย โดยจ่ายในลักษณะเป็นสิ่งของ เช่น เพิ่มจำนวนสินค้าให้ ให้สินค้าอย่างอื่นเป็นค่าส่งเสริมการขาย เช่น ตู้เย็น โทรศัทพ์ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในวันที่ที่มีการส่งมอบสิ่งของ โดยคำนวณมูลค่าของสิ่งของตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ส่งมอบของนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
  3. ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีได้รับค่าส่งเสริมการขาย เป็นใบลดหนี้ คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย โดยจ่ายในลักษณะใบลดหนี้ เพื่อลดยอดมูลค่าลูกหนี้ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามวันที่ที่ออกใบลดหนี้นั้น
  4. ถ้าเป็นการแถมสินค้า ไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ได้ขาย สินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ โดยมีการแถมสินค้าไปพร้อมกับสินค้าที่ขายซึ่งมูลค่าของสินค้าที่แถมไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขาย ไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้นจะเป็นสินค้าประเภท และชนิดเดียวกับสินค้าที่ขายหรือไม่ ผู้ขายสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับมูลค่าของสินค้าที่แถม
  5. ถ้าเป็นส่วนลดเงินสด ไม่ต้องมีการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย คือ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อซึ่งซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ โดยมีข้อตกลงให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนภายหลังจากที่ขายสินค้าไปแล้วซึ่งเป็นส่วนลดเงินสดหากการให้ส่วนลดดังกล่าวเป็นการให้ส่วนลดที่เป็นปกติตามประเพณีทางการค้า และได้มีการระบุเงื่อนไขส่วนลดเงินสดไว้ในใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ หรือใบกำกับภาษีให้ชัดเจน ต้องมีการระบุอย่างชัดเจน  ส่วนลดดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็น ลักษณะเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
  6. ถ้าซื้อไปใช้เอง หรือ ประกอบกิจการตนเอง ไม่ต้องมีการหัก ณ ที่จ่าย คือ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อดังต่อไปนี้ เมื่อผู้ขายสินค้าดังกล่าวจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ผู้ซื้อสินค้าที่ได้รับรางวัล ส่วนลด ค่าส่งเสริมการขาย โดยผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี คือ

(1) ขายให้ผู้บริโภคคนสุดท้าน - ขายแก่รายย่อย  : กรณีการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอย โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าเพียงเล็กน้อย เป็นต้น

(2) กรณีการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มี วัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น การขายอาหารสัตว์ให้แก่ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้นความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับกรณีผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้แทนจำหน่ายของผู้ขายซึ่งซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง

               ทั้งนี้ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย ไม่เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ตามมาตรฐาน 77/1(8) และมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้รับจึงไม่ต้องนำเงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายดังกล่าวไปรวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร  รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย - ไม่เข้าความหมายของการขายสินค้า หรือ บริการตามความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น จึงไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

 

               ในส่วนของโปรแกรม Business plus ERP ท่านสามารถบันทึกรับค่าส่งเสริมการขาย ตามหลักประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากรได้ และสามารถออกหนังสือ รับรองหัก ณ ที่จ่ายให้กับเจ้าหนี้ได้ในกรณีที่ท่านเป็นผู้รับค่าส่งเสริมการขาย ทั้งนี้การบันทึกค่าส่งเสริมการขายในโปรแกรม  Business plus ERP ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้ หรือผู้รับ โปรแกรมก็จะทำการลงบัญชีให้อัตโนมัติ (ตามที่มีการผูกบัญชีเอาไว้) และหากมีการรับค่าส่งเสริมการขายเป็นสินค้าโปรแกรมก็จะทำการบันทึกจัดเก็บสินค้าเข้าสต็อกให้ด้วย