8 ขั้นตอนพื้นฐานที่ HR ต้องกระทำ เมื่อพนักงานลาออก

1. ขอจดหมายลาออกอย่างเป็นทางการ

การขอให้พนักงานลงนามในหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการ ก็เพื่อบันทึกว่าพนักงานคนนั้นตัดสินใจออกโดยความสมัครใจ ไม่ใช่การบีบบังคับหรือการเลิกจ้าง โดยรายละเอียดต้องมีการระบุวันที่มีผลบังคับด้วย เอกสารดังกล่าวจะเป็นรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและตัวพนักงานเอง

 

2. ถ่ายโอนความรู้และความรับผิดชอบให้กับพนักงานคนอื่น

พูดคุยกับพนักงานและหัวหน้างานเพื่อกำหนดสถานะของโครงการปัจจุบันที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างแผนมอบหมายหน้าที่หรือแผนผู้สืบทอดให้พนักงานใหม่รับช่วงต่อโดยไม่มีการสะดุด บันทึกกระบวนการทำงานที่สำคัญ และหากมีเวลาเอื้ออำนวยก็สามารถให้พนักงานฝึกอบรมเพื่อนร่วมงานที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบหลักนั้น ๆ ในฐานะพี่เลี้ยงเฉพาะกิจได้ 

 

3. แจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่พนักงานที่ลาออก

เป็นสิ่งสำคัญที่ HR จะต้องแจ้งสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายให้แก่พนักงานที่ลาออก เนื่องจากทุก ๆ ประเทศจะมีกฏหมายต่าง ๆ ที่รองรับ เช่น ประกันสังคมที่บริษัทเอกชนส่วนใหญ่จะดำเนินการให้เสมอ ซึ่งจะมีการจ่ายเงินชดเชยสำหรับผู้ประกันตนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้างและลาออกปกติด้วย

โดยกรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

ส่วนกรณีลาออกเองหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท แถมพนักงานที่ลาออกจะยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)

สามารถขึ้นทะเบียนออนไลน์และรายงานตัวว่างงานที่เว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน ภายใน 30 วันหลังลาออก

 

4. รับคืนทรัพย์สินของบริษัท

วันสุดท้ายของการทำงานควรให้พนักงานคืนทรัพย์สินของบริษัททั้งหมด เช่น บัตรประจำตัว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก โทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป หรือกุญแจอาคาร จากนั้นประสานงานกับฝ่ายไอทีเพื่อปิดใช้งานรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสเข้าอาคาร คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลความลับ เพื่อรักษาความปลอดภัยของบริษัท

 

5. จ่ายเงินเดือนครั้งสุดท้าย

เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งต้องครบกำหนดรวมไปถึงสวัสดิการอื่น ๆ (ถ้ามี) ก่อนจะดำเนินการปิดระบบการจ่ายเงินสำหรับพนักงานคนนั้นผ่านผู้ให้บริการที่บริษัทเลือกใช้ รวมไปถึงการยืนยันที่อยู่หรืออีเมลส่วนตัวพนักงาน เพื่อส่งสลิปเงินเดือนงวดสุดท้ายด้วย

 

6. ออกหนังสือรับรองการทำงาน

 โดยแตกต่างจากการออก หนังสือรับรองเงินเดือน“เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร”หากพนักงานเรียกขอให้ทำหนังสือรับรองการทำงาน ก็ต้องออกให้ในวันสุดท้ายของการทำงานไม่ว่ากรณีใดก็ตาม เพราะกรณีการออกหนังสือรับรองการทำงานมีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 บัญญัติว่า 

 

7. แจ้งเพื่อนร่วมงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับทำงานทั้งหมด

เป็นการแจ้งพนักงาน เพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงลูกค้าหลักถึงการลาออกให้ทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งให้รายละเอียดพนักงานคนใหม่ที่จะเข้ามาทำงานต่อในอนาคต แน่นอนว่าควรหลีกเลี่ยงการเปิดเผยเหตุผลของการลาออกของพนักงานด้วย และสามารถนัดแนะช่วงเวลาให้พนักงานได้บอกลาทุก ๆ คนด้วย

 

8. ดำเนินการ Exit Interview

Exit Interview ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ แต่หลายองค์กรกลับมองข้ามแบบไม่สนใจใยดี ทั้ง ๆ ที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการได้มาซึ่งข้อมูล ทั้งนี้องค์กรสามารถเลือกวิธีการสัมภาษณ์ได้หลากหลาย ตามแต่วัฒนธรรมและความสะดวกใจ เพราะข้อมูลที่ได้มานั้น สามารถทำให้เรามองเห็นจุดแข็ง จุดอ่อน หรือกระทั่งสาเหตุที่แท้จริงที่พนักงานลาออก แล้วนำมาต่อยอดสร้างมาตรการหรือกลยุทธ์ป้องกันไม่ให้พนักงานลาออกได้

 

อีกข้อหนึ่งที่ HR ไม่ควรลืมก็คือการแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงาน โดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 
 

ที่มา hrnote.asia

เนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ

3 สิ่งที่จะได้รับจากนายจ้าง เมื่อโดนไล่ออก

7 เรื่องที่ต้องรู้ เกี่ยวกับการลาออก

“ขอลาออกตอนสิ้นเดือน” แต่อนุมัติให้ออกทันที ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกจ้างหรือไม่ ?

HR สามารถตอบคำถามที่ทำงานใหม่ของอดีตลูกจ้างโทรมาสอบถามถึงสาเหตุการลาออกได้หรือไม่

ลาออกไม่ได้บอกล่วงหน้า นายจ้างจะไม่ให้เงินในส่วนที่ทำงานไปแล้ว ได้ไหม?

พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของหัวหน้าที่ทําให้พนักงานตัดสินใจลาออกจากองค์กร

7 เหตุผลที่พนักงานลาออก

องค์กรควรทำการสัมภาษณ์พนักงานตอนลาออกไหม ?

ลูกจ้างถูกกดดันให้เขียนใบลาออก สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้
7 ความผิดร้ายแรง ที่ทำให้นายจ้างไล่ออกได้ทันที