สินทรัพย์ถาวรคืออะไร ? ความหมายแตกต่างกันจากทรัพย์สินหรือไม่ ?

ทะเบียนทรัพย์สินคืออะไร ?

เป็นการสรุปรายละเอียดทรัพย์สินของกิจการว่าปัจจุบัน ณ ตอนนี้มีอะไรบ้างที่สามารถตรวจสอบได้และตรวจนับได้ ทำให้รู้ว่าในกิจการนั้นมีข้อมูลเท็จจริงของทรัพย์สินเพื่อป้องกันการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ เวลาทำธุรกิจ ซึ่งทะเบียนทรัพย์สิน (Fix Asset Register) นั้นก็ใช้คำนวณค่าเสื่อมราคาในทางบัญชีและภาษีได้ แต่ก็ยังทำอย่างอื่นได้นะ โดยเฉพาะการปกป้องการทุจริตการตรวจสอบการมีตัวตนของทรัพย์สินด้วย

ทะเบียนทรัพย์สินนั้นก็จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ?

เอกสารทะเบียนทรัพย์สินนั้นสำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการใช้ก็หาได้ตามไฟล์ฟรีมีให้ดาวน์โหลดกันง่าย ๆ และสิ่งที่ประกอบอยู่ในนั้นด้วยจะมีดังด้านล่างนี้
     1. ต้นทุนของสินทรัพย์
     2. วันที่สินทรัพย์พร้อมใช้พร้อมกับคิดค่าเสื่อม
     3. เลขที่อ้างอิงสินทรัพย์
     4. อัตราการคิดค่าเสื่อมของสินทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่น 5 ปี/20 % 
     5. ค่าเสื่อมในปีนี้และค่าเสื่อมสะสม
     6. เลขที่เอกสารอ้างอิง เช่น ใบอินวอยซ์ในการซื้อสินทรัพย์

ในการทำทะเบียนทรัพย์สินนั้นต้องมีฉลาก (Tag) ติดกำกับอยู่เพื่อให้รู้ถึงการมีอยู่ถึงสินทรัพย์นั้น ๆ เวลาตรวจสอบจะได้ง่ายและสะดวก แน่นอนว่ามันก็จะอารมณ์ประมาณเดียวกันกับการเช็คสต็อคสินค้าเลยนั่นเอง แนะนำว่าให้ทำแบบนี้มันจะเป็นการทำบัญชีที่ละเอียดมากทีเดียว

สินทรัพย์กับทรัพย์สินความหมายแตกต่างกันหรือไม่ ?

เคยสงสัยกันไหมว่าคำว่าสินทรัพย์กับทรัพย์สินจริง ๆ แล้วมันต่างหรือเหมือนกัน ซึ่งหลายคนก็อาจจะบอกว่ามันก็อันเดียวกันเพียงแต่คำมันสลับกันเท่านั้น แต่ว่าอยากจะให้มองที่ความหมายด้านลึกกว่านั้นจริง ๆ แล้วทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันอยู่ โดยสินทรัพย์ (Asset) ความหมายจะค่อนข้างกว้างออกไปและรวมถึงความเป็นเจ้าของทั้งแบบมีและไม่มีตัวตนด้วย แต่ถ้าหากเป็นทรัพย์สิน (Property) จะเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนมากกว่า หากต้องการจะควบคุมและตรวจสอบจำนวนของสินทรัพย์ก็จะต้องมีการใช้ทะเบียนทรัพย์สิน ซึ่งจะทำให้ระบุได้และเห็นชัดเจนเลยว่ามีอะไรบ้างที่เป็นทรัพย์สินของกิจการและคิดค่าเสื่อมราคาอย่างไรด้วย

การคำนวณค่าเสื่อมราคากับทะเบียนทรัพย์สิน

หลายคนใช้การคำนวณค่าเสื่อมราคาผ่านทางทะเบียนทรัพย์สินอยู่แล้ว เพราะว่าก็ทำไปพร้อมกันกับการตรวจสอบเลย ซึ่งข้อมูลส่วนมากอยู่ในทะเบียนนั้นก็จะระบุชัดเจนในนั้นเลยว่าอะไรเป็นอะไร ต้นทุนของสินทรัพย์ วันที่ซื้อ วันที่ใช้งาน ซึ่งเวลาจะคำนวณค่าเสื่อมราคาจะค่อนข้างสะดวกมากในแต่ละรอบบัญชี แล้วก็ยังทำให้รู้ถึงสินทรัพย์คงเหลือได้เลยด้วย

ค่าเสื่อมราคาคืออะไร ?

เมื่อพูดถึงค่าเสื่อมราคาก็มาทำความเข้าใจเพิ่มกันอีกสักนิด ค่าเสื่อมราคา (Depreciation Expense) คือ การหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวร (FAR) ซึ่งเป็นตัวที่มีต้นทุนสูงและใช้งานเกิน 1 รอบบัญชี ซึ่งจะตัดเป็นรายจ่ายในแต่ละปีตามหลักการเลย ซึ่งทางบัญชีก็ต้องมีหลักการแบบนี้ หากไม่หักค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เลย เงินที่ลงทุนไปกับสินทรัพย์นั้นจะกลายเป็นรายจ่ายทันที ซึ่งก็จะมีผลต่องบกำไรขาดทุน ก็เลยจะต้องมาทยอยหักค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งาน เวลาคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายจะได้ลงตัวเวลาที่คำนวณกำไรขาดทุนทางภาษี

การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินให้คำนวณหักตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่รอบระยะเวลาใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้    

(1) อาคาร

 

   อาคารถาวร

   ร้อยละ 5

   อาคารชั่วคราว

   ร้อยละ 100

(2) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้

   ร้อยละ 5

(3) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า

 

   กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนด

 

   ให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุ

 

   การเช่ากันได้ต่อ ๆ ไป

   ร้อยละ 10

   กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือ

 

   มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน

   ร้อยละ 100 หาร

 

   ด้วยจำนวนปีอายุ

 

   การเช่าและอายุที่

 

   ต่อได้รวมกัน

(4) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธีสูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า

 

   สิทธิประกองกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

 

   กรณีไม่จำกัดอายุการใช้

   ร้อยละ 10

   กรณีจำกัดอายุการใช้

   ร้อยละ 100

 

   ด้วยจำนวนปีอายุ

 

   การใช้

(5) ทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอหรือ

 

   เสื่อมราคาได้นอกจากที่ดินและสินค้า

   ร้อยละ 20

 

รายละเอียดเพิ่มเติม  www.rd.go.th

 

ทะเบียนทรัพย์สินกับการตรวจสอบภาษี

ในด้านของการทำภาษีการตรวจสอบภาษีนั้นการมีทะเบียนทรัพย์สินก็ยังสำคัญ โดยเฉพาะใครที่ทำงานเกี่ยวข้องกับบัญชีและภาษีโดยตรงเลย ซึ่งจะสำคัญอย่างไรก็ตามด้านล่างนี้

1. ยืนยันการมีตัวตนของสินทรัพย์และจัดการระบบบัญชี

ซึ่งพอเรามีเอกสารทะเบียนทรัพย์สินก็จะเป็นการยืนยันการมีตัวตนของสินทรัพย์แบบทางอ้อมแล้วว่า สินทรัพย์นั้น ๆ มีตัวตนจริง ๆ นะ ซึ่งถ้าอยากจะให้เห็นชัดเจนไปพร้อมกันเลยก็จะต้องมีระบบตรวจนับไปพร้อมกัน การทำแบบนี้ก็แสดงว่ากิจการนั้นมีระบบการทำบัญชีที่ดีเลยทีเดียว เวลาส่งเรื่องการทำภาษีแก่ทางกรมสรรพพากรให้ตรวจสอบและขอทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ ก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการทำธุรกิจ

2. สินทรัพย์ที่มีเกี่ยวข้องกับกิจการอย่างแน่นอน

เวลามีการตรวจสอบหรือโดนสุ่มตรวจก็จะไม่มีปัญหาอะไร จะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาตรวจนั้นเห็นได้ชัดเจนว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่นั้นได้ถูกใช้งานจริง ๆ และก็เป็นสินทรัพย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ และหากใครที่เอาสินทรัพย์ส่วนตัวมาใช้เป็นรายจ่ายธุรกิจมันก็จะเห็นเลยในทะเบียนทรัพย์สิน เพราะว่ามันไม่สอดคล้องกัน โดนตรวจก็รู้เลยว่าไม่มีทรัพย์สินของกิจการแต่ทรัพย์สินนั้นดันไปอยู่ที่ส่วนตัวแทน มันค่อนข้างจะส่อแววทุจริตได้นั่นเอง

3. เวลาคำนวนณค่าเสื่อมราคาทางบัญชีและภาษีง่ายและสะดวก

ดังที่ได้กล่าวไปในหัวข้อทะเบียนทรัพย์สินกับค่าเสื่อมราคาแล้ว ว่าหากทำในนี้จะทำให้มั่นใจได้มากกว่า ค่อนข้างจะถูกต้องแน่นอน ซึ่งจะทำให้ได้เห็นทั้งการคำนวณจริงที่เป็นข้อมูลบนเอกสารและของจริงที่มีอยู่นั้นสอดคล้องกัน ทำให้กิจการไม่มีปัญหาเวลาทำบัญชีด้วย เจ้าหน้าที่ตรวจสอบก็ง่ายขึ้น หากต้องคำนวณบัญชีและภาษีหลายรายการก็อาจจะแยกกันออกมาคนละแผ่นเลยก็ได้เหมือนกัน

เป็นการติดตามสินทรัพย์ของบุคคลหรือองค์กรได้เป็นอย่างดีเลย ทุก ๆ บริษัท ทุกกิจการที่มีการทำบัญชีและยื่นภาษีนั้นจะต้องใช้เอกสารทะเบียนทรัพย์สิน และประเภทของสินทรัพย์ที่พบส่วนมากก็จะเป็นการลงทะเบียนสินทรัพย์ถาวร (FAR) ก็จะเป็นการติดตามเอาเฉพาะที่อยู่ในเงื่อนไขของการเป็นสินทรัพย์ถาวรเท่านั้นนั่นเอง มาทำความเข้าใจกันต่อว่าคืออะไรในหัวข้อต่อไป

สินทรัพย์ถาวรคืออะไร ?

สำหรับสินทรัพย์ถาวรนั้นจะเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงอย่างอื่นที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ยานพาหนะ ที่ดิน อาคาร อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญานั้นจะเป็นแบบไม่มีตัวตน ซึ่งก็จะรวมไปถึงสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และค่านิยม เป็นต้น การลงทะเบียนทรัพย์สินทุกวันนี้จะนับรวมรายการวัสดุสิ้นเปลืองสินทรัพย์ที่จ่ายล่วงหน้าและเงินสดในมือเฉพาะสินทรัพย์ที่เป็นส่วนมาตรฐานของกิจกรรม และในการคิดค่าเสื่อมราคาก็จะอยู่ในสินทรัพย์ถาวรเหมือนกัน

จุดประสงค์ของการลงทะเบียนทรัพย์สิน

เอกสารทะเบียนทรัพย์สินนั้นสำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการใช้ก็หาได้ตามไฟล์ฟรีมีให้ดาวน์โหลดกันง่าย ๆ และสิ่งที่ประกอบอยู่ในนั้นด้วยจะมีดังด้านล่างนี้
     1. ติดตามสินทรัพย์ของกิจการ
     2. ทำให้สะดวกในการบันทึกรายการข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ในองค์กร
     3. นำมาใช้ในการคิดค่าเสื่อมราคา
     4. ตรวจสอบและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ได้ง่าย
     5. มีความน่าเชื่อถือเมื่อตรวจสอบเกี่ยวกับบัญชีและภาษีขององค์กร
     6. ป้องกันการทุจริตต่อทรัพย์สินในองค์กร

เวลาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบบัญชีได้ตรวจนั้นจะทำให้ผ่านง่าย เรื่องภาษีไม่มีปัญหาหากข้อมูลในเอกสารลงทะเบียนทรัพย์สินยังคงตรงกับความเป็นจริงอยู่ และยังทำให้เห็นว่าบริษัทนั้นยังคงสถานะแข็งแกร่งแค่ไหน ทรัพย์สินที่มี ณ ปัจจุบันมีอะไรบ้าง และหากมีร่องรอยการทุจริตก็จะพบได้ง่ายจะทำให้จัดการได้อย่างทันที

ที่มา www.station-account.com

 

หัวข้ออื่นที่น่าสนใจ