SME ต้องรู้! วิธีและขั้นตอนวางขายสินค้าใน 7-11

SME ต้องรู้! วิธีและขั้นตอนวางขายสินค้าใน 7-11

                  รู้หรือไม่ เซเว่นอีเลฟเว่นนั้นวางขายสินค้าจาก SMEs หรือ ผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนไม่น้อย โดยสินค้าจากเครือซีพีเองมีไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ! แต่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดเพราะผิดสินค้าส่วนมากมีการวางโลโก้ของ 7-11 เอาไว้บนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1. Seven Select คือสินค้าที่ผลิตจาก SMEs เอง โดยเซเว่นฯได้คัดเลือกมาแล้
2. Seven Fresh คือสินค้าในหมวด เบเกอรี ขนมปัง ผลไม้ ฯลฯ ซึ่งในหมวดนี้ส่วนใหญ่จะมาจาก SMEs และผู้ค้ารายใหญ่ สินค้าที่มาจากเครือซีพีเองก็มีเช่นกันแต่เป็นส่วนน้อย
3. Only at Seven คือสินค้าของ SMEs รายเล็ก-กลาง ที่เซเว่นฯมีการร่วมคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา โดยเซเว่นฯต้องขอสงวนสิทธิ์สินค้านั้นๆ ให้วางขายเฉพาะที่เซเว่นฯ เท่านั้น

             ด้วยกว่า 11,640 สาขาทั่วประเทศและไม่มีท่าทีว่าจะลดลง ประกอบกับจำนวนสินค้าทั้งหมดกว่า 20,000 รายการ ทำให้เหล่าผู้ประกอบการรายย่อยต่างก็อยากที่จะนำสินค้าของตนไปวางขายในเซเว่นฯบ้าง โดยการคัดเลือกสินค้าของเซเว่นฯ แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
1. บริษัทติดต่อไปยังผู้ผลิตสินค้า โดยการส่งทีมค้นหาสินค้าที่น่าสนใจและตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าของร้าน
2. เจ้าของร้านติดต่อบริษัทเพื่อขอนำเสนอสินค้า
ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ต้องผ่านกระบวนการดังนี้
- ส่งสินค้าให้คณะกรรมการทดลองชิม
- ทดสอบความสะอาด ของสินค้ารวมทั้งตรวจสารรพิษ/สารตกค้าง
- ตรวจสอบวัตถุดิบส่วนผสม ข้อมูลทางโภชนาการ
- ตรวจสอบสุขอนามัย ความน่าเชื่อถือของโรงงานผลิต ตามหลักกระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานอาหารและยา(อย.), มาตรฐาน HACCP และมาตรฐานของเซเว่นอีเลฟเว่น
- ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ ซอง ห่อ ขนาดที่เหมาะสมกับการวางบนชั้นสินค้าของเซเว่นฯ ที่ต้องหยิบง่ายพร้อมทาน
- ราคาที่เหมาะสม (เซเว่นฯไม่เน้นสินค้าราคาแพง)

             ซึ่งจากข้อกำหนดด้านต้น ต้องผ่านทุกข้อหากไม่ผ่านข้อไหนก็ต้องปรับปรุงซึ่งจะมีทีมงานของเซเว่นฯคอยให้คำแนะนำ ในส่วนของระยะเวลาตั้งแต่เริ่มขั้นตอนถึงการได้วางขายนั้นก็อยู่ที่ 2 เดือน จนถึง 1 ปีก็มี เพราะสินค้าบางอย่างต้องผ่านการพิจารณาจากหลายทีม ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง ภาพลักษณ์และอื่นๆ

สินค้าแบบไหนที่จะโดนใจเซเว่นอีเลฟเว่น?
คุณสมบัติของสินค้าที่จะมานำเสนอวางขายในร้านนั้นไม่จำเป็นต้องมีชื่อในตลาดมาก่อนแต่คุณภาพก็ต้องดีถ้าเป็นอาหารก็ต้องอร่อยและควรจะต้องตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าของเซเว่นที่ปกติแล้วยอดบิลเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 60-80 บาทเท่านั้น

             ดังนั้นการกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ แพ็กเกจจิ้งก็มีส่วนสำคัญเพราะถ้ามีของสวยๆงามๆ มาตั้งในร้ายแถมยังคุณภาพดีใครล่ะจะไม่ชอบ แต่ต้องคำนึงถึงขนาดด้วยเช่นกัน เพราะส่วนมากลูกค้าของเซเว่นฯ จะไม่เน้นซื้อสินค้าชิ้นขนาดใหญ่รวมถึงพื้นที่วางสินค้าไม่ได้มีขนาดใหญ่ ดังนั้นถ้าสินค้าชิ้นใหญ่ไปจะไม่สามารถวางขายในเซเว่นฯ ได้

             สำหรับสินค้าจาก SMEs ที่ยอดนิยมในเซเว่น ยกตัวอย่างเช่น กล้วยหอมสด, ผลไม้พร้อมน้ำจิ้ม, มะขามแปรรูป, ขนมหวาน และแซนวิสแฮมชีส (ที่ขายได้ถึง500,000ชิ้นต่อวัน) เป็นต้น

            หลายคนอาจจะกังวล และคิดว่าการวางขายสินค้าที่เซเว่นฯ นั้นยาก ซึ่งนั่นเป็นเรื่องจริง ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือไม่ใช่การท้อแต่เป็นการต้องพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดีมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์กับกลุ่มผู้บริโภคของเซเว่นฯ เพื่อโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้นโดยที่ SMEs จำนวนไม่น้อยเริ่มต้นจากธุรกิจไซส์ S แล้วขยับขยายกลายเป็นธุรกิจไซส์ M และ L ในเวลาต่อมา ดังนั้นอยากให้ผู้ประกอบการ SMEs ทุกท่านอย่าหยุดที่จะพยายาม พัฒนาตัวเองให้ทันยุคทันสมัยเพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงท

ที่มา : Facebook Page อายุน้อยร้อยล้าน

ที่มา : https://www.mangozero.com/how-to-selling-in-7-11-for-sme.../
https://www.smartsme.co.th/content/72294