ปัจจัยเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าร้านวัสดุก่อสร้าง

ปัจจัยเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าร้านวัสดุก่อสร้าง

  • ทำเลที่ตั้ง โดยพิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้งที่ลูกค้ามองเห็นร้านชัดเจน เพื่อจะได้รับทั้งลูกค้าขาจรและ ขาประจำ นอกจากนี้ การคมนาคมต้องสะดวก เพราะต้องมีรถขนส่งวิ่งเข้า-ออก ส่วนขนาดของร้านต้องมีความ สัมพันธ์กับตลาดและจำนวนรายการสินค้าที่จะขาย โดยแบ่งพื้นที่ไว้เป็นคลังสินค้า และบริเวณจอดรถขนถ่ายสินค้า นอกจากนี้ ควรเลือกพื้นที่ที่มีร้านค้าวัสดุก่อสร้างไม่มากเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน 
  • การบริการ ตลาดร้านอุปกรณ์ก่อสร้างควรให้ความสำคัญกับการบริการก่อนราคาสินค้า เพราะลูกค้า ส่วนมากมักจะมาด้วยปัญหา จึงควรมีการจัดหาสินค้าดี มีคำ แนะนำที่ถูกต้อง ในราคาที่เหมาะสม ทั้งนี้ลูกค้ามักมี การเปรียบเทียบราคา หากราคาไม่แพงเกินกว่าร้านข้างเคียงและบริการขนส่งรวดเร็ว ก็น่าจะสามารถทำ ยอดขาย ได้ไม่ยากนัก นอกจากนี้ การให้บริการที่ครบวงจรก็นับเป็นกลยุทธ์ที่ควรให้ความสำคัญหากมีทุนเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการออกแบบ ติดตั้ง จนถึงซ่อมแซม ในลักษณะของ Home service ซึ่งให้บริการตรวจเช็ค ทำ ความสะอาด เปลี่ยนสุขภัณฑ์ รวมไปจนถึงการทาสี และการปรับปรุงบ้าน เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันการจะหาช่างซ่อมแซม ตกแต่งบ้านเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้รายได้ส่วนนี้ จะไม่ใช่รายได้หลักและมีสัดส่วนไม่มาก แต่ถือเป็นจุดขายที่น่าจะสร้างความพอใจให้กับลูกค้าและดึงดูดให้ลูกค้า กลับมาซื้อสินค้าและใช้บริการได้เป็นอย่างดี 
  • เงินทุน กิจการนี้ใช้เงินหมุนเวียนมาก เพราะต้องมีสินค้าคงคลังพร้อมขาย หากเงินทุนไม่พอหรือสายป่าน ไม่ยาวพอก็อาจจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง และนำ ไปสู่การเกิดภาวะขาดทุนได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของธุรกิจร้านวัสดุ ก่อสร้างคือ ค่าใช้จ่ายประจำ ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรจะต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ รวมไปจนถึงการคัดเลือกประเมินผลคู่ค้า (Vendor’s Service Level) ที่ควรจะประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ความสามารถทางการผลิต คุณภาพสินค้า คุณภาพการให้บริการ และความสามารถในการจัดส่ง
  • ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ผู้ประกอบการเองหรือลูกจ้างควรจะต้องมีทักษะความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่วาง จำหน่ายพอสมควร เพราะบางโอกาสลูกค้ามาหาสินค้าบางอย่าง แต่ลูกค้าเรียกไม่ถูก หรือไม่ลูกค้าก็อาจจะหยิบ ตัวอย่างสินค้าจากที่บ้านมา ดังนั้น ผู้ประกอบการก็ควรต้องรู้ทันทีว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการนั้นคืออะไร หรือใช้วัสดุ ก่อสร้างใดทดแทนได้บ้าง โดยแหล่งความรู้ก็อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ประกอบการเอง หรือจากการ พูดคุยกับลูกค้า หรือหาความรู้จากทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม ขณะเดียวกันควรต้องพิจารณาคัดเลือกคนงานขาย สินค้า และคนขับรถขนส่งสินค้าที่มีทักษะความสามารถด้วย เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายในขณะขนส่ง สินค้าเมื่อถึงมือลูกค้า
  • การสร้างเครือข่าย มีทั้งการสร้างเครือข่ายโดยการเป็นพันธมิตร หรือตัวแทนจำหน่ายของผู้ผลิตวัสดุ ก่อสร้างรายใหญ่ การเป็นพันธมิตรกับร้านค้าวัสดุก่อสร้างรายอื่น เพื่อจัดซื้อวัสดุก่อสร้างที่ร้านตนเองไม่ได้สต๊อกไว้ มาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้า หรือการสร้างเครือข่ายกับร้านค้าวัสดุก่อสร้างรายย่อยเพื่อขายสินค้าบางรายการที่ร้าน ของตนเองจัดซื้อไว้ในปริมาณมาก ตลอดจนถึงการมีพันธมิตรหรือสายสัมพันธ์ที่ดีกับบรรดาช่างรับเหมาก่อสร้าง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ

การเตรียมความพร้อมของธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างนับจากนี้ จึงต้องยึดแนวคิดการใช้ปัจจัยพื้นฐาน ของการดำเนินธุรกิจ ได้แก่

  • ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนมากเพียงพอ เพราะต้องมีสินค้าคงคลังพร้อมขาย ซึ่งต้องมีการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังด้วย
  • ที่ดินควรมีทำ เลเหมาะสม ตั้งอยู่ในตำ แหน่งที่มีคนสัญจรไปมามากพอสมควร
  • พิจารณาคัดเลือกคนงานขายสินค้า และคนขับรถขนส่งสินค้าที่มีทักษะความสามารถ
  • ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการจะต้องบริหารจัดการ วางระบบเกี่ยวกับการซื้อมา-ขายไป การทำบัญชีให้รัดกุม และที่ขาดไม่ได้คือมนุษยสัมพันธ์ที่ด

 

ทั้งนี้ ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างขนาดเล็กซึ่งเน้นขายวัสดุก่อสร้างเฉพาะเพียงไม่กี่ชนิด และมักตั้งอยู่ตามตึกแถว ทั้งในย่านชุมชนและชานเมืองรอบนอก ส่วนใหญ่มักจะค่อนข้างเสียเปรียบรายใหญ่ โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนสินค้า ที่อาจจะสูงกว่า และความหลากหลายของสินค้าที่มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากถูกกำหนดโดยพื้นที่ของร้านค้า และกำลัง ของเงินลงทุน ดังนั้นควรจะต้องหันมาพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านค้าของตนมาเป็นร้านค้าในรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น มาดู 8 เทคนิคการเพิ่มยอดขายกัน

1. จัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงามสะดุดตา เพื่อสร้างการรับรู้เเก่ลูกค้าว่านี้คือร้านขายวัสดุก่อสร้าง

2. ปรับปรุงรูปเเบบการจัดเรียงสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ และจัดวางสินค้าที่จำ เป็นต้องใช้เเน่นอนให้อยู่ใน ตำ เเหน่งที่เด่นชัด เช่น ก๊อกน้ำที่สวยงามคุณภาพดี ลูกบิดประตูที่สวยงาม เครื่องมือช่างเกรดดี เป็นต้น

3. เพิ่มสินค้าใหม่เข้าร้านอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าเเละยอดขาย

4. เเนะนำ สินค้าดีมีคุณภาพเเละเหมาะสมให้กับลูกค้า เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาเป็นลูกค้าขาประจำ 

5. จัดหาสินค้าให้กับลูกค้าด้วยการเป็นนายหน้า มีบริการเเนะนำ ร้านค้าให้ลูกค้าประจำ หรือบริการสั่ง ผ่านทางร้านสำหรับสินค้าที่ไม่มีในร้าน เเต่ทั้งนี้ก็ควรเลือกร้านที่มีบริการจัดส่งที่ดีมีคุณภาพ

6. การมอบสิทธิพิเศษให้เเก่ลูกค้า การมี Loyalty Program หรือบัตรสมาชิกซึ่งให้สิทธิประโยชน์ ทั้งส่วนลดหรือการสะสมคะเเนน เพื่อเเลกซื้อของต่างๆ ในราคาที่ถูกลงเพื่อจูงใจลูกค้า

7. รู้จักต่อรองราคากับผู้ผลิตสินค้า ดุลพินิจในการจัดการต่อรองราคาขึ้นอยู่กับข้อมูลทางการค้าภายใน ร้านเเละนโยบายของตัวเเทนจำหน่าย

8. ให้เครดิตกับผู้รับเหมา ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการ เพราะการปล่อยเครดิตมีความเสี่ยง

นอกจากนี้การสร้างความแตกต่าง เช่น การวางขายสินค้าที่ครัวเรือนทั่วไปมักซื้อหาเพื่อซ่อมแซมทดแทน ของเดิม เน้นอุปกรณ์เครื่องใช้ทั่วไปที่ราคาไม่แพงนัก หาซื้อสะดวกจากร้านค้าใกล้บ้าน หรือเน้นไปที่สินค้าเพื่อ รองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น บ้านประหยัดพลังงาน บ้านแห่งเทคโนโลยี บ้านสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น น่าจะจูงใจ ลูกค้าและสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้พอสมควร หากร้านค้าท้องถิ่นไม่หันมาปรับภาพลักษณ์ของร้านค้าใหม่และปรับปรุงการคัดเลือกสินค้าที่ตอบโจทย์ ผู้บริโภค ก็อาจจะแข่งขันกับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เร่งขยายสาขาได้ยากมากขึ้น

ที่มา www.kasikornbank.com