Workload ภาวะงานสะสม 9 สัญญาณเตือนจากลูกน้อง ที่หัวหน้าต้องสังเกตและรับมือ

          Over Workload หรือการทำงานหนักเกินไป จนหลาย ๆ คนวู่วามลาออกไปแล้วก็เยอะ ส่วนบางคนไม่ได้วู่วาม แต่ทนไม่ไหวแล้วจริง ๆ เพราะส่งผลกระทบที่แย่ต่อทั้งร่างกายและจิตใจ  HR ก็เปรียบเสมือนตัวแทนบริษัทที่จะเข้าใจและเข้าใกล้พนักงานให้มากขึ้น การมาดูแลใจพนักงานและช่วยจัดการ Over Workload ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ HR ควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องไหน ๆ เลย 

 

          วันนี้น้องบีพลัสจะพามาสังเกต 9 สัญญาณเตือนจากลูกน้อง ที่ HR และหัวหน้าต้องสังเกตและรับมือ ก่อนที่พนักงานจะหมดไฟ วู่วามลาออกไปเสียก่อน

  1. พฤติกรรมเปลี่ยนไป เดิมหากพนักงานมีนิสัยร่าเริง ตั้งใจทำงาน พูดคุยและมีมนุษย์สัมพันธ์กับทุกคนในที่ทำงาน แต่กลับเปลี่ยนไป ไม่ค่อยร่าเริง และพูดคุยกับคนรอบข้างเหมือนแต่ก่อน ก็ควรลองหาเวลาพูดคุยกับพนักงานคนนั้นเป็นการส่วนตัว
  2. แยกตัวจากสังคม ชอบปลีกวิเวกไปใช้ชีวิตอยู่คนเดียว แอบไปนั่งทำงานเงียบ ๆ ใส่หูฟังทำงานตลอดเวลา ไม่เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ให้ความร่วมมือเรื่องงาน
  3. ลาป่วยบ่อย แบบไม่ทราบสาเหตุของอาการป่วยที่แน่ชัด อาจเป็นสัญญาณว่าพนักงานกำลังอยู่ในภาวะ Workload จนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
  4. ทำงานนอกเวลาบ่อย มาทำงานเช้ากว่าเดิม กลับดึกอยู่บ่อยครั้ง หรือบางครั้งก็มีการหอบโน้ตบุ๊กกลับไปที่บ้านด้วย
  5. งานเกิดข้อผิดพลาดบ่อย Human Error หรือความผิดพลาดในการทำงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่หากพนักงงานเคยทำงานอย่างรอบครอบ ไม่เคยทำงานพลาด แต่สุดท้ายกลับมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับเรื่องที่ทำเป็นบ่อย ๆ 
  6. มีอาการเครียดอย่างเห็นได้ชัด ความเครียดสะสม อาจส่งผลทำให้สารเคมีในสมองแปรปรวน จนสามารถแสดงออกมาเป็นอาการทางร่างกายหรือพฤติกรรมที่สังเกตได้ 
  7. แสดงอาการฉุนเฉียว ระบายออกมาทางสีหน้าและอารมณ์ รวมไปถึงการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการพูดจาไม่ดีใส่เพื่อนร่วมงาน หรือหากมีข้อขัดแย้งเล็กน้อย
  8. แอบร้องไห้ การร้องไห้ก็ถือเป็นการระบายความเครียดอีกอย่างหนึ่ง ให้ลองหาเวลาพูดคุย ไม่ควรปล่อยปละละเลย
  9. ไม่ดูแลตัวเอง โดยเฉพาะคนที่เคยใส่ใจเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมมาก่อน แต่เมื่อทำงานไปสักระยะ เริ่มเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งมีพฤติกรรมไม่เหมือนเดิม ทั้งหมดนี้อาจแสดงถึงความเหนื่อยล้าจากงานที่มากเกินไป

 

วิธีรับมือ เมื่อพนักงาน Over Workload

  • แบ่งสรรปันส่วนจำนวนงานให้ดี จัดลำดับความสำคัญของงาน
  • ต้องรู้ว่าใครถนัดงานแบบไหน มอบหมายงานที่แต่ละคนมีความสามารถ จะทำให้งานเดินหน้าเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • ให้ลูกทีมทำ To-Do List จะช่วยให้บริการจัดการภาระงานได้ดีและลด Workload ได้แน่นอน
  • สร้างตารางงานร่วมกัน สามารถติดตามความคืบหน้า และช่วยเหลือกันในทีมได้
  •  หาเวลาให้พนักงานคลายเครียด หาเวลาพักในระหว่างวันดูบ้าง ไม่ควรกดดันให้ทำงานด่วนตลอดเวลา

 

ที่มา Jobs DB