Verbal bullying ในที่ทำงาน

การบูลลี่ (Bully)เพื่อนร่วมงาน เป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่

          การถูกกีดกันด้วยคำพูดหรือการก่อกวนด้วยคำพูดในที่ทำงาน เรียกว่า "verbal bullying" หรือ "การกีดกันด้วยคำพูด" ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของการกีดกันที่มีลักษณะการใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมหรือทำให้คนรู้สึกไม่สบายใจ โดยอาจมีผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจต่อผู้โดนกระทำ และยังสามารถทำให้ผลการงานและสภาพความสมบูรณ์ในที่ทำงานเสียหายได้ด้วย การที่ผู้บริหารและทีมงานในองค์กรรับรู้และรับมือกับปัญหา verbal bullying มีความสำคัญเพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและมีความเคารพในที่ทำงานให้กับทุกคนในองค์กร

  • การตำหนิและการวิจารณ์ไม่เหมาะสม การใช้คำพูดที่เสียหายและดูถูกผู้อื่น โดยรวมถึงการวิจารณ์งานหรือทักทายอย่างไม่เหมาะสม
  • การหลอกลวง การใช้คำพูดเพื่อเข้าใจผู้อื่นหรือก่อกวนให้ผู้อื่นรู้สึกไม่รู้สึกใจหรือไม่มั่นใจในตนเอง
  • การพูดดูถูกสถานะสังคม การใช้คำพูดที่ลดคุณค่าของผู้อื่นด้วยเหตุผลเช่น เพศ ศาสนา หรือลักษณะภายนอก
  • การล่วงละเมิดส่วนบุคคล การแพร่กระจายข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

คดีหนึ่งมีประเด็นว่า ลูกจ้างทำความผิดร้ายแรงหรือไม่

          ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า โจทก์ลูกจ้าง (ตำแหน่งรองผอ.ค่าจ้างเดือนละ 2 แสนบาท) ยอมรับว่าใช้คำพูดเรียกเพื่อนร่วมงานว่า "กะหรี่ ผิวสีดำ ทำงานอยู่ซอยคาวบอย" ซึ่งจำเลยที่ 1 นายจ้าง มีข้อบังคับฯ กำหนดว่าการเหยียดสีผิว เชื้อชาติ เพศ เป็นความผิดร้ายแรง

ส่วนที่โจทก์อ้างว่า เป็นการพูดล้อเล่นเท่านั้น

          การที่จะพิเคราะห์ว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับฯ จำต้องพิจารณาถึงลักษณะงานและบุคคลที่ได้รับฟังคำพูดโจทก์

เมื่อปรากฎว่า จำเลยที่ 1 บริษัทนายจ้างประกอบกิจการจัดหางาน ลักษณะงานดังกล่าวเกี่ยวพันกับบุคคลหลายเชื้อชาติ ศาสนา เพศ

สีผิว การที่จำเลยที่ 2 (กรรมการบจก.) กำหนดให้การกระทำลักษณะดังกล่าวเป็นความผิดร้ายแรงก็เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อชื่อเสียง เพื่อให้เห็นว่าการจัดหางานของจำเลยที่ 1 มีความเสมอภาค

          เมื่อปรากฎว่า นางสาว เอ ที่ได้รับฟังคำพูดโจทก์ไม่ได้รู้สึกเป็นการพูดล้อเล่น ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็มีการร้องเรียนไปถึงบริษัทแม่ที่ประเทศอังกฤษ และมีการสอบสวนตามขั้นตอน

          ดังนั้น คำพูดลักษณะดังกล่าวจึงเป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 2 มีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเขย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษา ศอ .คดีชำนัญพิเศษที่ ๒๖๔๔/๒๕๖๓

คดีนี้ ศาลแรงงานตัดสินว่าเป็นกาพูดล้อเลียนเพื่อนร่วมงานเท่านั้น ไม่ผิดวินัย ร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

แต่ศาลอุทธรณ์ฯ ตัดสินให้ลูกจ้างชนะ ด้วยเหตุผลข้างต้น

 

 

ที่มา Narongrit Wannaso