3 กองทุน คนทำงานควรเล็งไว้เพื่อวัยเกษียณ

          ในยุคปัจจุบัน การออมเงินเพื่อเกษียณมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีผลต่อความมั่งคั่งและความมั่นคงในอนาค นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระการผูกพันกับการทำงานในวัยทำงาน และเป็นการเตรียมความพร้อมให้สามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสม นอกจากการออมเงินในเส้นทางของการเลี้ยงชีวิตหลังเกษียณอายุ การวางแผนการเงินเพื่อเกษียณยังมีความสำคัญในการลดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินในอนาคต เช่น การเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายการแพทย์และด้านสุขภาพในอนาคต หรือเงินสำหรับการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมพักผ่อนในวัยเกษียณ ซึ่งช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมั่นคงในวัยที่ไม่มีรายได้จากการทำงานได้และมีช่วงเวลาว่างมากขึ้น

          ดังนั้น ควรมีการออมเงินเพื่อเกษียณเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินส่วนบุคคล โดยการเลือกช่องทางการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินในระยะยาว และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการรายได้และค่าใช้จ่ายในทุกๆ ช่วงชีวิตเพื่อความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณได้ที่สุด

กองทุนประกันสังคม

          กองทุนประกันตนที่เราจ่ายเงินสมทบโดยหักจากเงินเดือนจำนวน 5% เพื่อรับสิทธิประโยชน์หากเกิดการว่างงาน คลอดบุตร เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต โดยจะได้รับเงินทดแทนชราภาพเมื่อมีอายุครบ 55 ปีขึ้นไป ในกรณีที่จ่ายเงินสมทบครบสม่ำเสมอตามข้อกำหนด

  • กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • กรณีจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1 เพิ่มขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

          กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่าย ส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม“ และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นลักษณะของสวัสดิการที่นายจ้างมีให้กับลูกจ้าง เพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินให้แก่ลูกจ้างที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”

          ความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากจะทำให้ลูกจ้างมีการออมอย่างต่อเนื่อง มีวินัย และมีเงินสมทบจากนายจ้างแล้ว ยังมีการนำเงินไปบริหารให้เกิดดอกผลงอกเงยโดยผู้บริหารมืออาชีพ และดอกผลที่เกิดขึ้นจะนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนทุกคน ตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุนอีกด้วยค่ะ การที่ผู้ประกอบการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะช่วยทำให้พนักงานมากความสามารถอยู่ทำงานด้วยนานขึ้น จนอาจถึงช่วงวัยเกษียณเลย เนื่องจากถือเป็นขวัญกำลังใจ และทำให้พนักงานรู้สึกมีความมั่นคงหากทำงานไปนาน ๆนั่นเอง

กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะยาว

          กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF – Super Saving Funds) เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ภาครัฐจัดตั้งขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมในระยะยาว สามารถเลือกซื้อได้ตลอดทั้งปีเและเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีคือสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาไม่เกิน 30% ของรายได้และต้องถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี เพื่อรับผลประโยชน์อย่างครอบคลุม

 

ที่มา ananda