ตรวจสอบประวัติ รปภ. ไม่ให้ขัดกฎหมาย

ตรวจสอบประวัติ รปภ. ไม่ให้ขัดกฎหมาย

เชื่อว่าตอนนี้หลายองค์กรที่จ้าง รปภ. จากบริษัทภายนอกต่างขอให้บริษัทต้นสังกัด รปภ. ตรวจสอบประวัติ รปภ. ว่ามี  "คุณสมบัติ และ  ลักษณะต้องห้ามหรือไม่"


โดยเฉพาะลักษณะต้องห้ามแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ


1. ลักษณะต้องห้ามเด็ดขาด

คือ เคยต้องโทษคดีเกี่ยวกับเพศ เช่น ข่มขืนกระทำชำเรา อนาจาร เป็นต้น


2. ลักษณะต้องห้ามไม่เด็ดขาด

คือ เคยทำผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย เกี่ยวกับทรัพย์ เกี่ยวกับยาเสพติด

เว้นแต่พ้นกำหนด 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต หรือพูดง่าย ๆ คือ เคยต้องคดีเหล่านี้ แต่เกิน 3 ปีแล้วก็สามารถขอใบอนุญาต รปภ. ได้



          หลายองค์กรจึงอยากรู้ว่า รปภ. ที่มาทำงานช่วยรักษาความปลอดภัยนั้นมีประวัติที่ต้องห้ามเด็ดขาด หรือไม่ ซึ่งจากที่เป็นข่าวเท่ากับแสดงให้เห็นว่าระบบการตรวจเช็คประวัติของตำรวจมี Eror ทำให้ประวัติไม่ “คลีน” (ปกติหากมีประวัติอาชญากรรมก็จะมีใบแยกออกมาว่าเคยโดนคดีอะไร)
อีกทั้งเหตุการณ์ข่มขืนนี้ยังทำให้หลายคนรู้ว่าหากพ้นโทษเกิน 3 ปีแล้วก็อาจเป็น รปภ. ได้ นี่จึงเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้หลายคนอยากตรวจสอบประวัติ
นอกจากนั้นคนที่เคยเป็น รปภ. มาก่อน 4 มีนาคม2559 ที่ได้ใบอนุญาตไม่อยู่ในบังคับกฎหมายที่ต้องมีอายุครบ หรือมีวุฒิการศึกษา และที่สำคัญ “คดี”

          บริษัท รปภ. หลายที่จึงต้องขอตรวจสอบประวัติ รปภ. กันอีกรอบ ในลักษณะขออัพเดทอีกทีเพราะลูกค้าเริ่มไม่สบายใจกันแล้ว
ดังนั้น จึงต้องกันเหนียวเผื่อว่าการตรวจสอบประวัติตอนนั้นระบบตรวจสอบประวัติจะ Eror หรือมีการปลอมเอกสาร รวมถึงการที่ข้อมูลไม่อัดเดท

การปฎิบัติจึงต้องคำนึงถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
ในการขอให้ตรวจสอบประวัติ ควรแนบหนังสือให้ความยินยอมของ รปภ. ไปด้วย โดยในจดหมายและแบบฟอร์ม ควรประทับตราว่า confidential หรือ ลับที่สุด ส่วนบริษัทที่เป็นลูกค้าหากจะดูประวัติ (เป็นการส่งต่อประวัติอันเป็นข้อมูลส่วนบุคคล) ก็ควรกันเหนียวโดยมีหนังสือให้ความยินยอมของ รปภ. ด้วย

 

ที่มา กฎหมายแรงงาน