ไม่เกษียณตามกำหนดเวลาในข้อบังคับ ต้องถือว่านายจ้างได้มอบสิทธิในการตัดสินใจว่าจะเกษียณอายุแก่ลูกจ้าง

 

นายจ้างกำหนดเกษียณ ๖๐ ปี ครั้นเมื่อลูกจ้างอายุครบ ๖๐ ปีแล้ว นายจ้างยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไป กระทั่งลูกจ้างอายุ ๖๓ ปี ลูกจ้างประสงค์จะเกษียณจะสามารถทำได้หรือไม่

 

กรณีนี้ต้องถือว่าลูกจ้างสามารถขอเกษียณได้ ด้วยเหตุผลดังนี้

๑) มาตรา ๑๑๘/๑ วรรคสอง กำหนด "ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้"

๒) กรณีนี้ศาลฎีกาถือว่าเป็นกรณีที่นายจ้างสละที่จะใช้ข้อบังคับ และได้มอบสิทธิในการตัดสินใจว่าจะเกษียณอายุแก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างแสดงเจตนาเกษียณอายุตอนอายุ ๖๓ จึงถือว่าเป็นกรณีเกษียณอายุ ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๑๗/๒๕๔๗)

 

อ้างอิงจาก. กระทรวงแรงงาน. แผนการจัดการความรู้ เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ การเกษียณอายุตาม มาตรา ๑๑๘/๑, หน้า ๔.

 

ที่มา เพจ กฎหมายแรงงาน

หัวข้ออื่นที่น่าสนใจ