“ลาป่วย” ไม่ได้แปลว่าแค่เป็นไข้ ลาไปรักษาโรคเรื้อรังก็ลาป่วยได้ตามกฎหมาย
คำว่า “ป่วย” ในทางกฎหมายแรงงาน ไม่ได้จำกัดเฉพาะอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เช่น เป็นหวัด ไข้ขึ้น หรือท้องเสียเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคไต เบาหวาน มะเร็ง หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ โดยเฉพาะกรณีที่มีนัดหมายพบแพทย์หรือรับการรักษาเป็นประจำ
คำว่า “ป่วย” หมายถึง การที่ลูกจ้างรู้สึกไม่สบายเพราะโรคภัยหรืออาการเจ็บไข้ และสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น หากลูกจ้าง มีอาการเจ็บป่วย หรืออยู่ในช่วงฟื้นฟูสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ แม้จะไม่มีไข้สูง แต่ยังอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ ก็สามารถขอลาป่วยได้
ลาไปรักษาโรคเรื้อรัง เช่น ฟอกไต ก็ถือเป็น “ลาป่วย”
มีกรณีตัวอย่างที่ กระทรวงแรงงานเคยให้ข้อหารือ เรื่องลูกจ้างที่ต้อง ลาไปรับการฟอกไตสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างต่อเนื่อง โดยนายจ้างสงสัยว่าการลาแบบนี้เข้าข่าย “ลาป่วย” หรือไม่
ถือว่าเป็นการลาป่วยได้ เพราะในวันที่ลูกจ้างลาไปฟอกไต ลูกจ้างยังอยู่ในภาวะเจ็บป่วย และร่างกายไม่แข็งแรงเต็มที่
ตาม มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ระบุว่า ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และหากลาป่วยไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามปกติ
เพื่อให้การลาป่วยเป็นไปตามระเบียบ และรักษาสิทธิของลูกจ้าง
-
แจ้งการลาป่วยให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้า (ถ้าเป็นกรณีรักษาตามนัด)
-
จัดเตรียมใบรับรองแพทย์ หากลาเกิน 3 วัน หรือกรณีที่นายจ้างร้องขอ
-
ระบุเหตุผลว่าเป็นการรักษาต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
ที่มา กฎหมายแรงงาน