TAX กับ VAT แตกต่างกันอย่างไร?

เนื้อหาที่น่าสนใจ

 

TAX คือภาษีที่เป็นเงินที่ทางภาครัฐเรียกเก็บจากประชาชนเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่ง TAX จะจะพูดรวมถึงภาษีทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น 

ใครมีหน้าที่เสีย TAX

ในกรณีที่เป็นบุคคลที่มีรายได้อาทิ เงินเดือน ค่าจ้าง จะมีหน้าที่ในการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขณะที่บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล

VAT

หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากการขายสินค้า หรือให้บริการ ซึ่ง VAT จะถือเป็นหน่วยย่อยของ TAX

ใครมีหน้าที่เสีย VAT

บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งภาษีทุกเดือนแม้ไม่มีรายได้ก็ตาม

ที่มา บัญชีอย่างง่าย เพื่อเจ้าของกิจการ

 

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบียน

1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน

2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม

3.ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน

ที่มา กรมสรรพากร

 

ประเภทของใบกำกับภาษี

1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

  1. การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

  2. การยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม เพื่อออกฉบับใหม่

  3. การออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

3. เอกสารอื่นที่ถือเป็นใบกำกับภาษี

  1. ใบเพิ่มหนี้
  2. ใบลดหนี้
  3. ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด
  4. ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ที่มา กรมสรรพากร

 

การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ

ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานสำคัญซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการในแต่ละครั้ง

  • กรณีการขายสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ
  • กรณีการให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระราคาค่าบริการ

ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องจัดทำใบกำกับภาษีอย่างน้อย 2 ฉบับ ดังนี้

  • ต้นฉบับ ส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  • สำเนา เก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ทำรายงาน

สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น ซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลคำเพิ่ม และหากผลการคำนวณภาษีปรากฎฏว่า ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ถือเป็นเครดิตภาษีผู้ประกอบการจดทะเบียน มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่เพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีกก็มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้

ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ก็มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น

ที่มา กรมสรรพากร