ใบกำกับภาษีใช้ลายเซ็นดิจิตอลได้หรือไม่?

ผู้ประกอบการหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ใบกำกับภาษีไม่จำเป็นจะต้องใช้ปากกาเซ็นชื่อรับรองในเอกสารใบกำกับภาษีต้นฉบับ เราสามารถใช้ลายเซ็นเป็นดิจิตอลได้ เนื่องจากมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร (รายการอย่างน้อยที่ต้องมีในเอกสารใบกำกับภาษี) ไม่มีการระบุถึงเรื่องของการลงลายมือชื่อ ดังนั้นเราจะใช้ปากกาเซ็นชื่อหรือลายเซ็นดิจิตอลก็ได้ทั้งสองแบบไม่ผิด

ปล.ในการเซ็นชื่อในเอกสารใบกำกับภาษีก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการบริษัทด้วย เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากกรรมการก็เซ็นได้

รายละเอียดที่ต้องมีในใบกำกับภาษี

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ ที่เห็นได้ชัดเจน

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ

3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

4. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

5. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

6. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

7. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการโดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

** การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อโดยผู้มีอำนาจและประทับตราบริษัทที่ต้นฉบับใบกำกับภาษี ดังนั้นลายเซ็นดิจิตอลก็สามารถทำได้ หรือไม่เซ็นชื่อลงในเอกสารต้นฉบับใบกำกับภาษีก็ไม่ผิด **

พอหลายคนรู้แล้วว่าใช้ลายเซ็นดิจิตอลได้ ก็เกิดคำถามต่อมาว่า "ทำเป็น PDF File ส่งไปให้ลูกค้า Print ออกมาเองเลยได้หรือไม่

ในข้อหารือ [ข้อหารือเลขที่ : กค0706(กม.01)/พ./343 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2549] จะเขียนประมาณว่าการที่ลูกค้า Print เอกสารใบกำกับภาษีเอง ไม่ถือไม่ถือว่าเป็นการส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นจึงขอสรุปว่าไม่สามารถส่งให้ลูกค้า Print เองได้ ดังนั้นผู้ประกอบการท่านใดอยากจะส่งใบกำกับภาษีทาง Email แนะนำให้ใช้ระบบ E-Tax Invoice

สรุป : ใบกำกับภาษีลายเซ็นดิจิตอลได้แต่ต้อง Print และ ส่งมอบให้ลูกค้ากับมือเท่านั้น ถ้าจะส่งใบกำกับภาษีทางเมล์ต้องเป็น E-Tax invoice เท่านั้น

 

ที่มา เพจ บัญชีคลับ

E-book ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์/ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คลิก