กรณีศึกษา การยื่น ภ.พ.30 ปกติในอินเทอร์เน็ต

   ทางบริษัทฯ มีการยื่น ภ.พ.30 ปกติในอินเทอร์เน็ต ไม่มียอดชำระ และไม่มียอดขาย มีเครดิตภาษี 5,000 บาท และเดือนถัดมา ตรวจพบว่ายื่นภาษีซื้อไว้เกิน 200 บาท จึงยื่นเพิ่มเติม เกินกำหนดเวลา

   คำถาม
   1. จะมีเบี้ยปรับเงินเพิ่มไหม
   2. เราสามารถนำเครดิตยกมา มาใช้ได้ไหม


  กรณีบริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.พ.30 ฉบับปกติทางอินเทอร์เน็ต ไม่มียอดชำระ และไม่มียอดขาย มีเครดิตภาษี 5,000 บาท และเดือนถัดมา ตรวจพบว่ายื่นภาษีซื้อไว้เกิน 200 บาท จึงยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม เกินกำหนดเวลา เช่นนี้

1. ในแบบ ภ.พ.30 ฉบับยื่นเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ของเดือนภาษีดังกล่าว ให้กรอกเฉพาะเบี้ยปรับที่ลดลงได้ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542 และชำระเฉพาะเบี้ยปรับ ดังนี้

“ข้อ 5 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(1) มาตรา 89(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้

   (1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจ สอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้

   (ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ

   (ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ

   (ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ

   (ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ”

   ทั้งนี้ โดยให้ถือว่า แบบแสดงรายการดังกล่าวเป็นคำร้องขอลดเบี้ยปรับ โดยอนุโลม ตามข้อ 2 วรรคสาม ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
 

2. สำหรับเครดิตภาษี ของเดือนปัจจุบันให้ลดยอดลงจำนวน 200 บาท ตามจำนวนภาษีซื้อที่แล้วไว้เกิน และนำไปใช้เป็นเครดิตได้ตามปกติ

ที่มา Facebook สุเทพ พงษ์พิทักษ์