การตัดหนี้สูญ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186

การตัดหนี้สูญ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186

เกิน 2 ล้านบาท

1.ฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่ง หรือ

2.ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้ว และมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรก ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่แสดงได้ว่ามีการดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้สินได้

ไม่เกิน 2 ล้านบาท

1.ฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง หรือ

2.ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้สูญ ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ไม่เกิน 2 แสนบาท

1.มีหลักฐานการติดตามทวงถามแล้วไม่ได้ชำระหนี้

2.หากจะฟ้องร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ

ที่มา เพจ บัญชีคิดให้ง่าย

 

ถ้าหนี้สูญนั้นเกิดจากลูกค้าของกิจการ ซึ่งอยู่ในคดีแพ่งและคดีอาญา จะมีเอกสารในการตัดหนี้สูญ ให้เป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้อย่างไร ตามหลักสรรพากร

หลักการทั่วไป

การตัดหนี้สูญที่เกิดจากลูกหนี้ปกติของกิจการจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ตามที่กฏกระทรวง 374 พศ 2564 ระบุไว้คือ

1.หนี้น้อยกว่า 200,000 บาท

การตัดหนี้สูญระดับเล็ก ใช้เพียงแค่ 2 อย่างก็ถือว่าเพียงพอ นั่นก็คือ

  • เอกสารทวงถามหนี้ (เช่น จดหมาย)
  • เอกสารแสดงค่าใช้จ่ายในการทวงถามไม่คุ้มกับหนี้ (เช่น ใบเสนอราคาค่าทนาย) เป็นต้น

2.หนี้มูลค่า 200,00 - 2,000,000 บาท

หนี้ระดับกลางนี้เราจะมาดูแยกกันระหว่างคดีแพ่ง และคดีอาญา ว่าเอกสารต่างกันอย่างไร

2.1 คดีแพ่ง

  • - ศาลต้องมีคำสั่งรับฟ้อง หรือ
  • ในกรณีที่มีเจ้าหนี้รายอื่นๆ ฟ้อง เราต้องขอยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดี และศาลได้มีคำสั่ง รับคำขอแล้วถึงจะนำมาตัด ลูกหนี้เป็นค่าใช้จ่ายได้

2.2 คดีล้มละลาย

  • ศาลต้องมีคำสั่งรับฟ้อง หรือ
  • ในกรณีที่ตัว ลูกหนี้เอง ขอยื่นล้มละลาย(ผ่านผู้ชำระบัญชีของลูกหนี้) เมื่อศาลรับคำร้องของลูกหนี้ ขอให้เป็นบุคคลล้มละลาย ก็จะสามารถใช้เอกสารนี้ ตัดเป็นหนี้สูญได้เช่นกัน หรือ
  • กรณีที่ เจ้าหนี้รายอื่นฟ้องแล้ว เราต้องมีเอกสาร ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถึงจะตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญได้

3.หนี้เกิน 2,000,000 บาท

3.1 คดีแพ่ง

  • กิจการต้อง ต้องมีหลักฐานว่าได้มีการดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ได้ ซึ่ง หลักฐานในการบังคับคดี กฎใหม่ได้กำหนดว่า หากการดำเนินคดีทางแพ่งคดีนั้นมีการออกหมายบังคับคดีของศาลและมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้ว ปรากฏว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้สูญในรอบบัญชีนั้นได้เลย

3.2 คดีล้มละลาย

  • การที่ ลูกหนี้ของกิจการ ร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย สามารถจำหน่ายหนี้สูญได้แล้ว (กฏกระทรวงเดิมไม่ชัดเจน แต่ของใหม่อนุญาตแล้ว)
  • หรือ หากศาลคำสั่งปิดคดี เจ้าหนี้ก็สามารถจำหน่ายหนี้สูญได้ แต่ปกติแล้วการที่ศาลจะสั่งปิดคดี จะเกิดภายหลัง ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจะให้แบ่ง

ในบางเคสมักมีคำถามว่า แล้วถ้าลูกหนี้เป็นกิจการต่างชาติ ใช้เอกสารต่างประเทศได้หรือไม่ ? เช่น คำสั่งศาลที่ฟ้องร้องในต่างประเทศ คำตอบคือ ได้ แต่ต้องเพิ่มเงื่อนไขคือ การแปล ต้องแปลเอกสารต่างๆ เป็นไทยโดยอ้างอิง *ระเบียบการของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร พ.ศ.2539* 

ที่มา : เพจ 101 BuncheeTax และ กฏกระทรวง 374 พ.ศ .2564 

 

กรณีศึกษา ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการค้างมานานตัดทิ้งยังไง

หากกิจการมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ค้างมานานกิจการสามารถตัดทิ้ง(ยกหนี้) ให้ได้ ผ่านมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งการล้างลูกหนี้ทิ้งนี้สรรพากรมองว่า เป็นรายจ่ายต้องห้าม เพราะ หนี้สูญก้อนนี้ ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กรมสรรพากรกำหนด

แต่ทางฝั่ กรรมการ การที่กรรมการได้รับการยกหนี้ให้ถือเป็นเงินได้ 40(2)ต้องนำมาคำนวณยื่นเสียภาษีด้วย ตอนที่บริษัทล้างหนี้นั้นบริษัทมิได้นำส่งข้อมูลใดๆให้ทางสรรพากรดังนั้นแทบไม่มีกรรมการคนไหนยื่นเงินได้ประเภทนี้แต่ถ้าโดนตรวจสอบ ก็จะมีเบี้ยปรับแน่นอน ทางที่ดีหาทางอื่นดีกว่าเช่น จ่ายโบนัสให้กรรมการ แล้วทำคืนเงินกู้ยืมมาให้ทางบริษัท เพราะสามารถใช้เป็นรายจ่ายของกิจการได้ด้วย

ที่มา : เพจ 101 BuncheeTax